ซ่อมช่วงล่างรถยนต์

ซ่อมช่วงล่างรถยนต์

ซ่อมช่วงล่างรถยนต์ เป็นระบบด้านล่างของรถยนต์ทั้งหมด ไม่นับตัวถังรถยนต์ ช่วงล่างจะรับน้ำหนักทั้งหมดของรถยนต์ มีผลต่อประสิทธิภาพการขับขี่รถยนต์อีกด้วย

ซ่อมช่วงล่างรถยนต์

 

ระบบบังคับเลี้ยว ขับเคลื่อนด้วยคันส่ง

หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาอยู่แล้วและก็คงพอจะรู้จักกันอยู่บ้าง แต่ก็อาจจะมีอีกหลายคนที่เคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่าระบบช่วงล่างจริง ๆ แล้วนั้นคืออะไร ซึ่งในที่นี้ถ้าหากจะให้พูดกันให้เข้าใจได้โดยง่ายเลยก็คือ ระบบช่วงล่างของรถยนต์ก็เป็นระบบที่เกี่ยวกับส่วนประกอบบริเวณด้านล่างของรถยนต์ทั้งหมด โดยที่ไม่นับรวมในส่วนของตัวถังรถยนต์นั่นเอง ซึ่งระบบช่วงล่างนี้ก็จะเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของรถยนต์ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขับขี่รถยนต์อีกด้วย

ระบบบังคับเลี้ยว ขับเคลื่อนด้วยคันส่ง

ระบบบังคับเลี้ยว ขับเคลื่อนด้วยราวแร็คช์

ระบบบังคับเลี้ยว ขับเคลื่อนด้วยคันส่ง

ชิ้นส่วนของระบบช่วงล่างรถยนต์

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าระบบช่วงล่างของรถยนต์ก็คือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้รถยนต์ยกเว้นตัวถังรถ ซึ่งก็จะประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ชิ้นส่วนของระบบช่วงล่างรถยนต์

1.สปริง

ทำหน้าที่ในการซับแรงกระแทกจากถนนที่เข้าสู่โครงสร้างรถ ซึ่งการกระเด้งของสปริงนั้นก็จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถ โดยสปริงจะเด้งมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถด้วย ในปัจจุบันก็จะมีการใช้สปริงสำหรับระบบช่วงล่างของรถยนต์อยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 แบบก็คือ

  1. คอยล์สปริง มีลักษณะคล้ายกับที่พบเห็นกันได้บ่อยตามอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเช่นสปริงในด้ามปากกา โดยสปริงชนิดนี้ก็จะถูกติดตั้งเอาไว้กับโช้คอัพเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของล้อ
  2. แหนบสปริง สปริงชนิดนี้มักจะใช้ในรถกระบะ ซึ่งก็ไม่ได้มีลักษณะม้วนแบบสปริงอย่างที่เราคุ้นเคยกัน แต่จะเป็นการออกแบบแผ่นเหล็กที่ความยืดหยุ่นต่างกันแล้วนำมามัดรวมกันจนกลายเป็นสปริงที่สามารถควบคุมแรงกระแทกได้นั่นเอง
  3. ทอร์ชั่นบาร์ สปริงชนิดนี้ก็จะเป็นการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถหมุนได้เชื่อมต่อในระบบช่วงล่าง ซึ่งก็จะให้ผลแบบเดียวกับ Coil Spring แต่จะมีข้อดีก็คือสปริงชนิดนี้สามารถปรับความแข็งได้ตามความต้องการ แต่ปัจจุบันก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กันเท่าไหร่เพราะว่ามีระบบสปริงที่ดีและราคาถูกกว่ามาทดแทน
  4. ถุงลม ทำหน้าที่ควบคุมการซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นได้คล้ายกับการทำงานของสปริง ซึ่งการทำงานของถุงลมก็คือจะอาศัยแรงดันอากาศเข้ามาควบคุมการซับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น ข้อดีก็คือสามารถตอบสนองได้ดีกว่าเนื่องจากสามารถปรับได้หลายรูปแบบตามต้องการ แต่ข้อเสียก็คือมีราคาแพงมากนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะพบอยู่ในกลุ่มของรถหรูราคาแพงเป็นส่วนใหญ่

2.โช้คอัพ

มีหน้าที่ในการจำกัดการขึ้นลงหรือการกระเด้งของสปริง ในทางวิศวกรรมอาจเรียกว่า Damping โดยโช้คอัพจะช่วยรองรับ ดูดซับแรงกระแทก รวมไปถึงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถในการขับขี่บนท้องถนน ซึ่งโช้คอัพก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทได้แก่

โช้คอัพระบบน้ำมัน จะทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค โดยขณะที่โช้คอัพทำงานน้ำมันไฮดรอลิคก็จะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ จึงทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นภายในน้ำมัน แต่ในกรณีที่ฟองอากาศเกิดแตกขึ้น ก็จะทำให้โช้คอัพเกิดการขาดช่วงการทำงานในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งก็อาจเป็นเหตุให้รถยนต์เสียอาการได้ถ้าหากมีการขับขี่อยู่ในย่านความเร็วสูง

โช้คอัพระบบแก๊ส เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแก๊สไนโตรเจนและน้ำมันไฮดรอลิค โดยในขณะที่โช้คอัพทำงาน ลูกสูบของโช้คอัพก็จะทำการเลื่อนตัวลงมาด้านล่างของกระบอกลูกสูบ ทำให้น้ำมันไฮดรอลิคที่อยู่ในกระบอกสูบนั้นไหลผ่านวาล์วขึ้นไปยังห้องน้ำมันด้านบน ในขณะที่น้ำมันอีกจำนวนหนึ่งก็จะไหลผ่านวาลว์ด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง หลังจากนั้นจะทำการอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดันเพื่อดันน้ำมันไฮโดรลิคกลับเข้าสู่กระบอกลูกสูบ ซึ่งโช้คอัพระบบแก๊สก็ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ LOW-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER หรือโช้คอัพแก๊สแรงดันต่ำ โดยจะมีการอัดแรงดันไว้ประมาณ 10 – 15 กก./ตาราง ซม. หรือ 142 – 213 ปอนด์/ตารางนิ้ว และ HI-PRESSURE GAS SHOCK ABSORBER หรือโช้คอัพแก๊สแรงดันสูง โช้คอัพประเภทนี้จะไม่มีห้องน้ำมันสำรอง แต่จะเก็บน้ำมันไฮดรอลิคไว้ที่ด้านบนของกระบอกสูบ และทำการอัดแก๊สไนโตรเจนที่ด้านล่างของกระบอกสูบ โดยจะมีแรงดันอยู่ที่ 20-30 กก./ตาราง ซม. หรือประมาณ 284-427 ปอนด์/ตารางนิ้ว

3.เหล็กกันโคลง

เหล็กกันโคลงเหล็กกันโคลงมีหน้าที่ในการลดการสั่นสะเทือนและการรักษาสมดุลที่ดีขึ้นของรถขณะเบรกอย่างกะทันหันหรือการเลี้ยวโค้งอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้รถยึดเกาะถนนได้เป็นอย่างดี

4.ลูกหมาก

เป็นชื่อที่เราคงคุ้นหูกันอยู่ไม่น้อย สำหรับในส่วนของลูกหมากนั้นก็ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของช่วงล่างรถยนต์เลยทีเดียว โดยจะเป็นปัจจัยที่ทำให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะส่งผลต่อระบบบังคับเลี้ยวของรถยนต์ สำหรับลูกหมากที่นิยมใช้กันในรถยนต์ก็จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกันได้แก่

  1. ลูกหมากคันชัก เป็นลูกหมากที่ใช้ยึดติดกับดุมล้อในส่วนของระบบบังคับเลี้ยว ทำหน้าที่ในการปรับสมดุลของทิศทางล้อเมื่อเข้าโค้ง
  2. ลูกหมากแร็คช์ เป็นลูกหมากที่ช่วยในการถ่ายทอดแรงจากการหมุนเลี้ยว มาเป็นการเคลื่อนที่ในแนวตรง
  3. ลูกหมากปีกนกบนและลูกหมากปีกนกล่าง มีความสำคัญในการทำให้ล้อเคลื่อนที่ไปตามทิศทาง ได้อย่างอิสระทั้งพื้นผิวปกติหรือทางต่างระดับ
  4. ลูกหมากกันโคลง เป็นลูกหมากที่ทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกเพื่อให้เกิดความนุ่มนวลของตัวรถ
  5. ลูกหมากคันส่งกลาง เป็นลูกหมากที่มีหน้าที่ถ่ายทอดแรงจากการเลี้ยวมาเป็นแนวตรง เช่นเดียวกับลูกหมากแร็คช์

5.ชุดคันส่ง

เป็นชุดอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับรถยนต์ ทำให้รถมีความเสถียรในการขับเคลื่อน เกิดการควบคุมได้ง่ายหากรถเสียหลัก และยังช่วยเพิ่มสมรรถนะที่มีประสิทธิภาพให้กับยางรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการลดแรงสะเทือนได้เป็นอย่างดีด้วย

รูปแบบของระบบช่วงล่างรถยนต์

สำหรับรูปแบบของระบบช่วงล่างรถยนต์ จำแนกอย่างง่ายก็จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ก็คือแบบตายตัว แบบอิสระ และแบบกึ่งอิสระ

1.ช่วงล่างแบบตายตัว (Dependent Suspension)

เป็นระบบช่วงล่างเก่าแก่ดั้งเดิม ระบบช่วงล่างแบบนี้อาศัยน้ำหนักจากชุดช่วงล่างเองในการทำให้ล้อเกาะถนนอยู่ตลอดเวลา โดยมากแล้วจะออกแบบมาให้ตอบสนองกับระบบเพลาแข็ง (axle) โดยมีชิ้นส่วนที่ยึดติดกับชุดเพลาแล้วเกาะติดกับตัวถังรถ เพื่อซับแรงกระแทกหรือกระทำที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อดีก็คือไม่ต้องมีการตั้งค่าและบำรุงรักษาอะไรมาก ปัจจุบันก็มักพบเห็นในกลุ่มของรถกระบะที่สามารถรับน้ำหนักได้ดีและไม่ต้องดูแลรักษามากนั่นเอง

2.ช่วงล่างอิสระ (Independent Suspension)

เป็นระบบช่วงล่างที่ปัจจุบันนิยมใช้กันในรถยนต์มากที่สุด เนื่องจากมีความสามารถในการตอบสนองการขับขี่ดี และมอบความนุ่มนวลในการขับขี่ได้มากกว่า ข้อดีของช่วงล่างแบบนี้ก็คือสามารถทำให้การทำงานของล้อทั้ง 4 เป็นอิสระออกจากกัน ดังนั้นถ้าหากว่าล้อใดล้อหนึ่งมีการซับแรงกระแทกจากถนน ก็จะไม่ส่งผลกับอีก 3 ล้อที่เหลือ จึงทำให้รถสามารถเกาะถนนไปได้ ช่วยให้มีความมั่นใจในการขับขี่และมีความนุ่มนวลมากกว่านั้นเอง แต่ข้อเสียของช่วงล่างแบบนี้ก็คือมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระยะยาวค่อนข้างแพงพอสมควรเลยทีเดียว

3.ช่วงล่างกึ่งอิสระ (Semi Dependent Suspension)

เป็นระบบช่วงล่างแนวคิดใหม่ที่มีการใช้คานแข็งด้านล่างคล้ายกับในช่วงล่างแบบตายตัว แต่จะแทนที่ด้วยตัวซับเฟรมที่ออกแบบให้ล้ออยู่อิสระทางด้านปลาย แล้วติดตั้งโช้คอัพไว้ควบคุมล้อตรงบริเวณส่วนปลายแขนของซับเฟรม หรือที่เรียกว่า Trailing Arm โดยสิ่งที่เหมือนกับช่วงล่างตายตัวก็คือ ค่ามุมต่าง ๆ จะถูกเซ็ตไว้ให้คงที่ในการใช้งาน โดยจะมีเพียงช่วงอาร์มเท่านั้นที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้ ซึ่งข้อดีของช่วงล่างแบบนี้ก็คือมีต้นทุนที่ไม่แพงและติดตั้งง่าย จึงทำให้นิยมนำมาติดตั้งกันในกลุ่มของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือพวกอีโคคาร์ แต่ช่วงล่างแบบนี้อาจจะยังตอบสนองการขับขี่ได้ไม่ดีเท่ากับช่วงล่างแบบอิสระ

การเรียกชื่อช่วงล่างแบบต่าง ๆ

ปกติการเรียกชื่อช่วงล่างก็จะไม่ได้เรียกว่าช่วงล่างตายตัว ช่วงล่างอิสระ หรือช่วงล่างอิสระอะไรแบบนี้ เพราะช่วงล่างแต่ละชนิดก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเป็นของตนเอง โดยชื่อของช่วงล่างที่เรามักจะได้ยินกันก็ได้แก่

สนใจโปรดติดต่อ

ออฟฟิศ: 02-409-5344, 02-409-5345

แฟ็กซ์: 02-409-5346

มือถือ: 082-082-3250, 082-081-2403, 082-060-9967, 082-061-1054, 082-262-1197

Website:

เอ็มเค พลัส ศูนย์เปลี่ยนยางรถยนต์ เปลี่ยนแบตเตอรี่

เอ็มเค พลัส ศูนย์ซ่อมรถยนต์มาตรฐาน

เอ็มเค พลัส ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องมาตรฐาน

เอ็มเค พลัส ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์

Call Now Button